บทความ

ประวัติส่วนตัว

รูปภาพ
 ประวัติส่วนตัว ชื่อ นายปฏิภาณ  โคตรบุบผา ชื่อเล่น เต๋า   เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ สถานะ โสด วันเกิด วันพฤหัสบดี ที่ 17 เดือน กุมภาพันธ์ อายุ 21 ปี

วิธีเข้าหัวสายแลน

รูปภาพ
วิธีเข้าหัวสายแลน ต่อสายแบบตรง ขาวส้ม,ส้ม,ขาวเขียว,ฟ้า,ขาวฟ้า,เขียว,ขาวน้ำตาล,น้ำตาล ขาวส้ม,ส้ม,ขาวเขียว,ฟ้า,ขาวฟ้า,เขียว,ขาวน้ำตาล,น้ำตาล ต่อแบบไขว้ ขาวส้ม,ส้ม,ขาวเขียว,ฟ้า, ขาวฟ้า,เขียว,ขาวน้ำตาล,น้ำตาล ขาวเขียว,เขียว,ขาวส้ม,ฟ้า,ขาวฟ้า,ส้ม,ขาวน้ำตาล,น้ำตาล อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม 1.สายแลนความยาวตามต้องการจะใช้แต่ต้องยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร 2.หัวแลน  หรือหัว RJ45 หนึ่งเส้นใช้สองหัว ซื้อแบบดี ๆ หน่อยจะเข้าหัวง่ายถ้าซื้อแบบถูกตรงเขี้ยวมันจะไม่ค่อยคมเวลากดแล้วมันจะไม่แทงทะลุสายทำให้สายใช้งานไม่ได้ อย่างดีประมาณหัวละ 8 -10 บาท 3.คีมเข้าหัวแลน สามารถใช้คีมนี้ในการเข้าหัวสายแลน และสายโทรศัพท์ได้ ตัดสายก็ได้  เวลาเลือกซื้อก็จะมีสองเกรดเช่นกัน ให้เลือกแบบดี ๆ หน่อยจะทนทานและเข้าหัวง่ายกว่าแบบถูก ราคาแบบดีประมาณ 800 บาท แบบถูก ๆ ก็ 350-500 บาท เมื่อได้ของครบแล้วก็มาดู วิธีการเข้าหัว LAN กันเลยครับ วิธีเข้าหัวสาย LAN 1.ใช้คัตเตอร์หรือ คีมเข้าหัวแลน  ปอกสายหุ้มสีขาวออก ให้มีความยาวซัก 3 เซ็นติเมตร (ระวังอย่าให้มีดไปโดนสายด้านในเข้านะ) เราจะเห็นสายเล็ก ๆ สีต่าง ๆ ด้านในจำนวน 8 เส้นด้วยกั...

นิวแมติกส์

รูปภาพ
  วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve) วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve) วาล์วควบคุมทิศทางลม (Directional Control Valve) มีชื่อเรียกหลายชื่อบ้างก็เรียกว่าโซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) แต่บางคนก็จะเรียกโซลินอยด์วาล์ว โดยให้หมายถึงวาล์วควบคุมทิศทางแบบ 2/2 เท่านั้นก็มี วาล์วควบคุมทิศทาง แบบ 2/2 หมายถึงตัววาล์วมี 2 รู (Port) / 2 ตำแหน่ง วาล์วควบคุมทิศทางแบบ 3/2 คือตัววาล์วมีรูลม 3 รู / 2 ตำแหน่ง วาล์วควบคุมทิศทางแบบ 3/3 คือตัววาล์วมีรูลม 3 รู / 3 ตำแหน่ง วาล์วควบคุมทิศทางแบบ 4/2 คือตัววาล์วมีรูลม 4 รู / 2 ตำแหน่ง วาล์วควบคุมทิศทางแบบ 4/3 คือตัววาล์วมีรูลม 4 รู / 3 ตำแหน่ง วาล์วควบคุมทิศทางแบบ 5/2 คือตัววาล์วมีรูลม 5 รู / 2 ตำแหน่ง วาล์วควบคุมทิศทางแบบ 5/3 คือตัววาล์วมีรูลม 5 รู / 3 ตำแหน่ง การเขียนสัญลักษณ์ตั้งแต่เริ่มต้น ที่ใช้เพื่อให้รู้และเข้าใจการทำงานของวาล์วควบคุมทิศทางอย่างง่ายๆ จึงเริ่มสัญญาลักษณ์ของวาล์ว แบบแมคคานิคอลวาล์วชนิด 3/2 เป้นขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ เขียนสัญญาลักษณ์โดยตัววาล์วมี 2 ตำแหน่งและมี 3 รู รูป การเขียนสัญลักษณ์ของวาล์วควบคุมทิศทาง การอ่านสั...

Solenoid Valve

รูปภาพ
  หลักการทำงานของ Solenoid Valves โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) คือ วาล์วที่ทำงานด้วยไฟฟ้ามันมีทั้งชนิด 2/2, 3/2, 4/2, 5/2 และ 5/3 ในบทความนี้จะได้กล่าวถึงเฉพาะวาล์วชนิด 2/2 ซึ่งใช้ควบคุมการ เปิดปิด  ของเหลว และ  ก๊าซเท่านั้น ส่วนวาล์วชนิด 3/2, 4/2, 5/2 และ 5/3 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับระบบนิวแมติค และ ระบบไฮดรอลิค       เมื่อกล่าวถึงชนิดของวาล์วเป็นตัวเลขเช่น 2/2, 4/2 หรือ 5/2 นั้น ตัวเลขหน้าบอกถึงจำนวนทางเข้าออกของวาล์ว นั้นๆ ว่ามีกี่ทางหรือมีกี่รู (port) ส่วนตัวเลขที่ตามหลังเครื่องหมายทับ (/)นั้นบอกถึงจำนวนสถานะ หรือ จำนวนตำแหน่ง (position) ของวาล์ว เช่น วาล์ว 2/2 ก็คือ วาล์วที่มี 2 ทาง และ  มี 2 สถานะ คือ  ปิด และ เปิด ส่วนวาล์ว 5/2 ก็คือวาล์วที่มี 5 ทาง และมี 2 สถานะ เป็นต้น  ภาพการทำงานเบื้องต้นของโซลินอยด์วาล์ว การทำงานของโซลินอยด์วาล์ว 2/2โดยทั่วไป โซลินอยด์วาล์ว 2/2 มีการควบคุม ให้เปิดปิดได้ด้วย 3 ระบบ คือ 1.ระบบเปิดปิดโดยตรง (Direct Acting หรือ Direct Operated) 2.ระบบเปิดปิดทางอ้อม (Indirect Acting หรือ Pilot Operated) 3.ระบบลูกผสม ...

กระบอกสูบ

รูปภาพ
ไปยังเนื้อหาหลั        กระบอกสูบทำงานทางเดียว   (Single  Acting  Cylinder)       กระบอกสูบแบบนี้จะใช้กับงานที่ต้องการแรงกระทำที่ไม่มากนักเนื่องจากแรงที่กระทำจะถูกต้านด้วยแรงของสปริง      ขนาดของกระบอกสูบชนิดนี้ที่นิยมผลิตกันจะมีขนาดโตไม่เกิน  100    มม .   และระยะซักไม่เกิน   100   มม     หลักการทำงาน            กระบอกสูบทำงานทางเดียว จะเคลื่อนที่ออกได้เมื่อมีแรงดันลมเข้าที่ด้านหัวสูบของกระบอก    แรงดันลมจะเอาชนะแรงสปริงทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ออกสุด       ในจังหวะเลื่อนกลับก้านสูบจะเคลื่อนที่กลับด้วยแรงดันของสปริง วาล์วควบคุมทิศทางลม   (Directional  Control  Valve)   วาล์วควบคุมทิศทางมีหน้าที่  คือ เปลี่ยนทิศทางการไหลของลมอัดให้ไปตามทิศทางที่ต้องการ  ทั้งนี้เพื่อให้อุปกรณ์ทำงาน  เช่น  กระบอกสูบ...

การกลับทางหมุนมอเตอร์ 1 เฟส

รูปภาพ
  วงจรกลับทางหมุนมอเตอร์ 1เฟส วงจรกลับทางหมุนมอเตอร์ 1เฟส Capacitor Start แบบมีสวิทชแรงแหวี่ยง (สวิทชแรงเหวี่ยงมีไว้เพื่อตัดวงจรขดลวดสตารทเมื่อความเร็วได้ 75%แล้ว ) ส่วนที่มี Cap 2 ลูก คือ Cap Start และ Cap Run นั้นจะมีลักษณะเหมือนกันแค่มี Cap Run คร่อมสวิทชแรงเหวี่ยงอยู่เท่านั้น ส่วนกรณีที่เป็น Split Phase จะแตกต่างกันตรงที่ไม่มี Capacitor เท่านั้น (มีสวิทชแรงเหวี่ยงเหมือนกัน)

วงจรไฟฟ้าเบื้องต้นของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ 1 เฟส

รูปภาพ
  วงจรไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้มอเตอร์คอมเพรศเซอร์สตาร์ทออกตัว และรันต่ออย่างราบรื่นไปจนกว่าจะตัดไฟเพื่อหยุดการทำงาน    ซึ่งในบทความฉบับนี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึงวงจรไฟฟ้าที่ใช้ในการสตาร์ทออกตัวและรันมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศ ระบบไฟแบบ 1 เฟส หรือแบบเฟสเดียว (Single Phase) เป็นหลัก   คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ ที่ใช้กันอยู่ในที่พักอาศัย เป็นคอมเพรสเซอร์แบบปิดสนิท ที่มีการนำเอาส่วนของตัวอัดสารทำความเย็น คือคอมเพรสเซอร์ และรส่วนต้นกำลังคือมอเตอร์ มารวมไว้ด้วยกันภายในชุดเดียวกัน มอเตอร์ที่ใช้ขับเคลื่อนคอมเพรสเซอร์ ในระบบไฟฟ้า 1 เฟส จะใช้เป็นมอเตอร์แบบสปลิทเฟส (Split-phase motor)   ภายในสปลิทเฟสมอเตอร์จะมีขดลวดพันอยู่ 2 ชุด คือ 1.  ขดรันหรือขดเมน (Running Winding, Main Winding)  พันด้วยลวดเส้นใหญ่ มีจำนวนรอบมาก ขณะที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน ขดลวดรันนี้จะมีไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มสตาร์ท หรือช่วงที่รันทำงานปกติ 2.  ขดสตาร์ท (Starting winding)  เป็นขดลวดชุดที่สองสำหรับเริ่...