ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กระบอกสูบ

      กระบอกสูบทำงานทางเดียว  (Single  Acting  Cylinder)

      กระบอกสูบแบบนี้จะใช้กับงานที่ต้องการแรงกระทำที่ไม่มากนักเนื่องจากแรงที่กระทำจะถูกต้านด้วยแรงของสปริง      ขนาดของกระบอกสูบชนิดนี้ที่นิยมผลิตกันจะมีขนาดโตไม่เกิน 100   มม.  และระยะซักไม่เกิน  100  มม  

 

หลักการทำงาน

          กระบอกสูบทำงานทางเดียว จะเคลื่อนที่ออกได้เมื่อมีแรงดันลมเข้าที่ด้านหัวสูบของกระบอก    แรงดันลมจะเอาชนะแรงสปริงทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ออกสุด       ในจังหวะเลื่อนกลับก้านสูบจะเคลื่อนที่กลับด้วยแรงดันของสปริง



วาล์วควบคุมทิศทางลม  (Directional  Control  Valve) 

วาล์วควบคุมทิศทางมีหน้าที่  คือ เปลี่ยนทิศทางการไหลของลมอัดให้ไปตามทิศทางที่ต้องการ  ทั้งนี้เพื่อให้อุปกรณ์ทำงาน  เช่น  กระบอกสูบ  มอเตอร์ลม  สามารถทำงานและเคลื่อนที่ในทิศทางตามที่ต้องการ

การอ่านสัญลักษณ์วาล์วควบคุมทิศทางจะขึ้นต้นด้วยจำนวนท่อทางลมก่อนและตามด้วยตำแหน่งทำงาน ซึ่งในลัญลักษณ์จะแทนด้วยสี่เหลี่ยม วาล์วควบคุมทิศทางที่ใช้ในระบบนิวแมติกส์ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

สัญลักษณ์ของวาล์วควบคุมทิศทาง


โครงสร้างและหลักการทำงานของวาล์ว

        1.วาล์ว  2/2 ปกติปิด บังคับการทำงานด้วยกลไกและกลับด้วยสปริง



การทำงาน    ในตำแหน่งปกติลมจาก  P   จะถูกปิด  เมื่อมีแรงกดที่ก้านลิ้นจะทำให้ลิ้นเปิด  ลมจาก  P   ผ่านไป  A  ได้

2.วาล์วบังคับทิศทางแบบ  3/2

         วาล์วแบบ  3/2   ปกติปิด บังคับการทำงานด้วยมือและกลับด้วยสปริง



        การทำงาน    ในตำแหน่งปกติลมจาก  P   จะถูกปิด รู   A  และ R  จะต่อถึงกัน  เมื่อออกแรงกดที่ปุ่มกดจะทำให้ลิ้นเปิด  ลมจาก  P   ผ่านไป   A  ได้     และเมื่อปล่อยมือสปริงจะดันให้วาล์วกลับสู่ตำแหน่งเดิม

วาล์วแบบ  3/2   ปกติปิด บังคับการทำงานด้วยกลไกและกลับด้วยสปริง


         การทำงาน    ในตำแหน่งปกติลมจาก  P   จะถูกปิด   รู A  และ R  จะต่อถึงกัน  เมื่อออกแรงกดจะทำให้ลิ้นเปิด  ลมจาก  P   ผ่านไป   A  ได้     และเมื่อไม่มีแรงมากระทำสปริงจะดันให้วาล์วกลับสู่ตำแหน่งเดิม

วาล์วแบบ  3/2   ปกติปิด บังคับการทำงานด้วยลมและกลับด้วยสปริง

      การทำงาน    ในตำแหน่งปกติลมจาก  P   จะถูกปิด รู   A  และ R  จะต่อถึงกัน  เมื่อมีลมป้อนเข้าที่รู   Z  จะดันให้ลิ้นเลื่อนไปทางขวาเอาชนะแรงดันสปริง    ลมจาก  P   จะผ่านไป  A  ได้     และเมื่อไม่มีแรงลมจากรู  Z   มากระทำ  สปริงจะดันให้วาล์วกลับสู่ตำแหน่งเดิม 

งานวงจรควบคุมการทำงานของกระบอกสูบทางเดียว


เลื่อนออก  ส่วนรู  R  จะถูกปิด  เมื่อปล่อยวาล์ว   สปริงจะดันให้วาล์วกลับตำแหน่งปกติ  ลูกสูบก็จะเลื่อนกลับด้วยแรงสปริงภายใน  ทำให้ลมที่ค้างอยู่ในกระบอกสูบถูกระบายออกสู่บรรยากาศที่รู  R  ได้  ส่วนทางลมอัดเข้า  P  จะถูกปิด


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การกลับทางหมุนมอเตอร์ 1 เฟส